Google

Friday, September 18, 2009

Trade Policy Instrument : Commodity Agreement

เครื่องมือของนโยบายทางการค้า : ข้อตกลงว่าด้วยโภคภัณฑ์

ข้อตกลงระหว่างประเทศที่กำหนดให้รัฐผู้ลงนามพยายามจัดคั้งระบบการตลาดของโลกเพื่อรองรับสินค้าประเภทโภคภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน ข้อตกลงว่าด้วยโภคภัณฑ์นี้เป็นความต้องการของรัฐผู้ผลิตทั้งหลายที่จะขจัดการแข่งขันทำลายล้างซึ่งกันและกันอันเกิดจากการผลิตที่มากจนเกินไป ซึ่งส่งผลให้เกิดตลาดโลกที่ผู้ซื้อเป็นผู้กำหนดราคาผลิตภัณฑ์ เมื่อได้มีข้อตกลงว่าด้วยโภคภัณฑ์ขึ้นมาแล้ว รัฐก็จะดำเนินการต่อไปนี้ คือ (1) ควบคุมการผลิตสินค้า (2) ควบคุมสินค้าส่งออก (3) กำหนดราคาสินค้าส่งออกของโลกทั้งระดับต่ำสุดและระดับสูงสุด และ (4) กำหนดให้มีสต๊อกสำรองของโภคภัณฑ์นั้นๆ รัฐต่างๆที่นำเข้าสินค้าประเภทโภคภัณฑ์นี้อาจจะเข้าร่วมในข้อตกลงนี้ด้วยก็ได้ ข้อตกลงโภคภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ก็คือ องค์การประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียม(โอเปก) ที่ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อ ค.ศ. 1961 แต่ด้วยเหตุที่รัฐผู้นำเข้าน้ำมันมิได้มีผู้แทนอยู่ในโอเปกนี้ ดังนั้นข้อตกลงนี้ก็จึงได้ถูกเปี่ยนแปลงให้เป็นการรวมกลุ่มเพื่อผูกขาดทางธุรกิจได้ ซึ่งการรวมกลุ่มแบบนี้ถือว่าเป็นความพยายามที่จะควบคุมการผลิต การกำหนดราคา และการตลาด จากการที่ได้เห็นความสำเร็จของโอเปกในด้านน้ำมันนี้ ก็จึงได้มีการลงนามในข้อตกลงว่าด้วยโภคภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์อื่นๆบ้าง เช่น กาแฟ น้ำมันมะกอก น้ำตาล ข้าวสาลี ชา ฝ้าย ยาง ดีบุก และเนื้อวัว เป็นต้น

ความสำคัญ ข้อตกลงว่าด้วยโภคภัณฑ์อาจจะมีประโยชน์เป็นการเฉพาะเมื่อรัฐกำลังพัฒนาทำการแข่งขันเพื่อแสวงหาเงินตราต่างประเทศ ได้ทำการผลลิตสินค้าประเภทโภคภัณฑ์จำนวนมากมาย ทำให้สินค้าเกิดการอิ่มตัวในตลาดและราคาก็ถูกกดให้ต่ำลง ภายใต้สภาวะการแข่งขันกันโดยเสรีนั้นประเทศผู้ผลิตแต่ละรายก็จะเพิ่มการผลิตของตนเพื่อชดเชยกับความสูญเสียจากราคาตกต่ำ ก็จึงได้ส่งผลต่อไปให้ราคายิ่งถูกกดลงอีก เมื่อได้มีการตกลงว่าด้วยโภคภัณฑ์นี้แล้ว รัฐต่างๆก็จะกำหนดเงื่อนไขการควบคุมการตลาดให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ผลิต โดยการควบคุมการกระทำของแต่ละรัฐโดยเคร่งครัด อย่างไรก็ดี ก็อาจจะเกิดความขัดแย้งขึ้นมาได้เมื่อโภคภัณฑ์ที่ถูกกำกับควบคุมอยู่นั้นมีการผลิตขึ้นมาในประเทศที่เจริญเหมือนอย่างที่ผลิตได้ในประเทศกำลังพัฒนา หากเป็นแบบนี้ขึ้นมาก็จะส่งผลให้เกิดความแตกต่างระหว่างระดับราคาส่งออกในตลาดโลกกับระดับราคาภายในได้ แต่ก็เป็นเรื่องยากเหมือนกันที่รัฐผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นปฐมจะทำการตกลงเกี่ยวกับการผลิตและโควตาการตลาดกันได้ ซึ่งในหมู่รัฐเหล่านี้ก็ได้มีบางรัฐต้องการขายโภคภัณฑ์ของตนเพื่อหาเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศ ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างของการเจรจาในเรื่องโภคภัณฑ์โกโก้ที่เจรจากันมาเรื่อยแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จใดๆ แต่จากการที่ได้เห็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จของโอเปก ก็ได้เป็นแรงกระตุ้นให้ชาติผู้ส่งออกโภคภัณฑ์ขั้นปฐมต่างดำเนินรอยตามบ้าง แต่ปรากฏว่าโภคภัณฑ์ต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุดิบและอาหารต่างๆประสบกับปัญหามีอุปสงค์ต่ำในตลาดโลก เมื่อเทียบกับน้ำมันที่มีอุปสงค์ในตลาดโลกสูงมาก

No comments:

Post a Comment

Elephantstay,Thailand,

Elephantstay,Thailand,
Live,work and play with elephants