บูรณาการทางเศรษฐกิจ : สหภาพทางเศรษฐกิจ
บูรณาการทางเศรษฐกิจของรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป โดยใช้วิธีการพัฒนานโยบายทางด้านเศรษฐกิจร่วมกัน สหภาพทางเศรษฐกิจ (1) จะจัดตั้งตลาดร่วมและภาษีศุลกากรภายนอกร่วมกัน (2) จะกำหนดให้มีการเคลื่อนไหวทางด้านแรงงานและทุนได้โดยอิสระ (3) จะประสานภาษีและเงินอุดหนุนที่จะส่งผลกระทบต่อการค้าภายในภูมิภาคให้กลมกลืนกัน (4) จะมีเป้าหมายเพื่อประสานนโยบายการคลังและการเงินร่วมกัน การมีสถาบันทางการเมืองเพื่อให้เป็นที่ตัดสินใจทางเศรษฐกิจร่วมกัน เป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับสหภาพทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น ประชาคมทางเศรษฐกิจยุโรป(อีอีซี) ทำหน้าที่เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจโดยมีองค์กรทางการเมืองต่างๆร่วมกัน
ความสำคัญ สหภาพทางเศรษฐกิจจะมีการกำหนดให้มีการบูรณาการทางเศรษฐกิจในระดับสูงสุด ซึ่งหากไม่สามารถบรรลุถึงบูรณาการในระดับสูงสุดนี้ได้ก็จะเป็นผลมาจากไม่สามารถสร้างสหภาพทางการเมืองที่สมบูรณ์ขึ้นมาได้นั่นเอง ถึงแม้ว่าสหภาพทางเศรษฐกิจจะมีลักษณะต่างๆคล้ายกับลักษณะของพื้นที่การค้าเสรี และสหภาพทางศุลกากร แต่มีข้อแตกต่างที่สำคัญ คือ ในสหภาพทางเศรษฐกิจจะมีการประสานนโยบายทางการคลังและการเงินภายในหมู่สมาชิก ระดับของบูรณาการในสหภาพทางเศรษฐกิจจะไม่ถูกกำหนดไว้ตายตัว แต่จะมีการขยายต่อไปเรื่อยๆเมื่อมีการพัฒนาสมานฉันท์ในประชาคมจนเกิดการสนับสนุนความร่วมมือในด้านต่างๆขึ้นมา สหภาพทางเศรษฐกิจมีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ (1) เพื่อส่งเสริมตลาดให้ขยายตัวมากขึ้น (2) เพื่อให้เกิดความชำนาญเฉพาะอย่างในการผลิตมากยิ่งขึ้น และ (3)เพื่อให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นโดยวิธีให้มีการแข่งขันเพิ่มขึ้นอันสืบเนื่องมาจากลัทธิปกป้องของภาครัฐบาลได้ถูกขจัดออกไปได้
No comments:
Post a Comment