Google

Wednesday, September 23, 2009

Economic Theory : Economic Nationalism

ทฤษฎีทางเศรษฐกิจ : ชาตินิยมทางเศรษฐกิจ

การที่ภาครัฐบาลเข้าทำการชี้นำและควบคุมกิจการทางเศรษฐกิจภายนอก นโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจมีเป้าหมายเพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจ ทางด้านการเมือง หรือทางด้านความมั่นคง โดยใช้วิธี (1) ปกป้องตลาดภายในประเทศ หรือ (2) เพิ่มพูนโอกาสทางการค้าที่ต่างประเทศ หรือ (3) กระทำทั้งสองอย่างพร้อมๆกัน ชาตินิยมทางเศรษฐกิจมีลักษณะตรงกันข้ามกับระบบการค้าเสรี ซึ่งเป็นระบบที่ปฏิบัติการทางเศรษฐกิจทั้งหลายจะปลอดพ้นจากกฎเกณฑ์และการควบคุมของภาครัฐบาล นโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจอาจจะมีตั้งแต่แบบที่รัฐบาลเข้าไปดำเนินการทางเศรษฐกิจที่เป็นแบบเสรีนิยมนั้นแต่เพียงบางส่วนไปจนถึงแบบที่รัฐบาลเข้าควบคุมนโยบายและเชิงปฏิบัติการทางเศรษฐกิจทั้งหลายทั้งปวง แล้วทำการชี้นำเพื่อให้นำพาไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์แห่งชาติ อันเป็นลักษณะของชาติที่รัฐเข้าไปทำการค้าเสียเองและชาติที่อยู่ในระหว่างสงคราม เทคนิคของชาตินิยมทางเศรษฐกิจมีดังนี้ (1) ให้มีการค้าที่มีการชี้นำจากภาครัฐบาล (2) มีการตั้งกำแพงภาษีและมีระบบโควตา (3) มีข้อตกลงการแลกเปลี่ยนสินค้า (4) มีการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา (5) มีการกำกับดูแลเงินตรา (6) มีการให้เงินอุดหนุนและควบคุมการส่งสินค้าออก (7) มีการห้ามสินค้า(นำเข้าและส่งออก) และการคว่ำบาตร (8) มีระบบให้สิทธิพิเศษทางการค้า (9) มีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และการโอนทรัพย์สินเป็นของรัฐ และ(10) มีการทุ่มตลาด

ความสำคัญ ชาตินิยมทางเศรษฐกิจได้เป็นนโยบายแห่งรัฐร่วมกันในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง กับในช่วงระหว่างสงครามในทศวรรษปี 1920 ถึงทศวรรษปี 1930 ยกตัวอย่างเช่น ในระหว่างทศวรรษปี 1930 รัฐต่างๆส่วนใหญ่พยายามจะหลีกหนีจากสภาพที่คนตกงานมากๆและจากภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจที่เกิดจากภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจทั่วโลก โดยได้ดำเนินนโยบายวางข้อจำกัดทางเศรษฐกิจภายนอก มีบางรัฐ เช่น เยอรมนี และอิตาลี ได้พยายามพัฒนาศักยภาพการทำสงครามของตนโดยใช้นโยบายทางเศรษฐกิจในแบบคติพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ กับได้ใช้วิธีชี้นำการค้าเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจแห่งชาติ นโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มว่าจะไปยั่วยุให้มีการปฏิบัติการตอบโต้โดยรัฐที่ได้รับความเสียหายด้วยการเข้าทำลายผลประโยชน์ในเบื้องแรกของนโยบายดังกล่าว ผลของนโยบายชาตินิยม ก็คือ มีการสร้างเสริมข้อจำกัดต่างๆที่จะทำให้การค้า การลงทุน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศอื่นๆลดลง ตลอดจนที่จะทำให้ความมั่งคั่งไพบูลย์ทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปตกต่ำลง ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีความพยายามที่จะป้องกันมิให้ชาตินิยมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นมาใหม่ด้วยการสร้างระบบการค้าและระบบชำระเงินในรูปแบบพหุภาคี โดยการจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศให้มาทำหน้าที่ในการปฏิบัติการร่วมกัน เช่น ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า(แกตต์) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) เป็นต้น

No comments:

Post a Comment

Elephantstay,Thailand,

Elephantstay,Thailand,
Live,work and play with elephants