วิเคราะห์นโยบายทางการค้า : ดุลการค้า
การได้เปรียบหรือการเสียเปรียบดุลการค้าสุทธิประจำปีของชาติ ที่อิงหลักข้อแตกต่างในมูลค่าของสินค้าสั่งเข้ารวมกับสินค้าส่งออกรวม ดุลการค้านี้แตกต่างจากดุลการชำระเงิน กล่าวคือ ดุลการค้านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเดบิตและเครดิตอีกหลายๆอย่างที่ประกอบเข้าเป็นดุลการชำระเงินของชาติ ตามหลักที่ยึดมาต่อเนื่องตั้งแต่ยุคลัทธิพาณิชยนิยมนั้น หากสินค้าส่งออกมีมูลค่ามากกว่าสินค้าสั่งเข้า เรียกว่า ดุลการค้า”ได้เปรียบ” แต่ถ้าหากสินค้าสั่งเข้ามีมูลค่ามากกว่าสินค้าส่งออก เรียกว่า ดุลการค้า “เสียเปรียบ”
ความสำคัญ ดุลการค้าประกอบเข้าเป็นส่วนสำคัญของดุลการชำระเงิน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อสินค้าส่งออกมีมูลค่ามากกว่าสินค้านำเข้ามากๆก็จะทำให้รัฐสามารถใช้จ่ายเงินเพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่างๆได้ เช่น ให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศและปฏิบัติการทางทหารในต่างประเทศ เป็นต้น แต่เมื่อดุลการค้าเสียเปรียบเสียแล้วก็จะผลักดันให้ชาติต้องตัดโครงการดังกล่าวหรือโครงการระหว่างประเทศอื่นๆออก วิธีที่จะให้ดุลการค้าได้เปรียบนั้น ผู้นำของชาติก็จะต้อง (1) ให้เงินอุดหนุนสินค้าส่งออก (2) ลดค่าเงินตรา (3)ขึ้นภาษีศุลกากรและอุปสรรคทางการค้าอื่นๆเพื่อขัดขวางสินค้าสั่งเข้า (4) เข้าร่วมกับประเทศอื่นในข้อตกลงรวมกลุ่มเพื่อผูกขาดทางธุรกิจอย่างกรณีกลุ่มโอเปก(กลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันปิโตรเลียม) และ(5) ดำเนินมาตรการอื่นใด ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายการค้าและหารายได้จากต่างประเทศ หรือตัดการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น นโยบายของสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายทศวรรษปี 1980 มีลักษณะเป็นนโยบายของลัทธิปกป้องมาก ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเสียเปรียบดุลการค้าซึ่งมีมูลค่าปีละเกือบ 2 แสนล้านดอลลาร์
No comments:
Post a Comment