นโยบายทางการเงิน : การประชุมที่เบรตตันวูดส์
การประชุมทางการเงินและการคลังของสหประชาชาติ ที่ได้ยกร่างมาตราต่างๆของข้อตกลงสำหรับ ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา(ไอดีอาร์ดี) และ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) การประชุมครั้งนี้ผู้ริเริ่มให้มีการประชุม คือ ประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี.รูสเวลท์ แห่งสหรัฐอเมริกา จัดขึ้นที่เบรตตันวูดส์ มลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ สหรัฐอเมริกา ระหว่าง 1-22 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 มีชาติต่างๆจำนวน 44 ชาติได้ส่งผู้แทนไปร่วมประชุมด้วย
ความสำคัญ การประชุมที่เบรตตันวูดส์นี้ถือได้ว่าเป็นความริเริ่มในอันที่จะช่วยแก้ปัญหาการบูรณะทางด้านเศรษฐกิจในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของฐานความร่วมมือเพื่อสร้างระบบการเงินและการลงทุนระหว่างประเทศ ที่สามารถทำงานได้ผลเพื่อนำมาใช้แทนสภาวะสับสนวุ่นวายที่เกิดขึ้นจากลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจในทศวรรษปี 1930 ทั้งธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1945 เมื่อจำนวนของชาติที่ต้องการได้ให้การยอมรับมาตราต่างๆของข้อตกลงสำหรับการจัดตั้งธนาคารฯและกองทุนฯแต่ละแห่งแล้ว ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 ทั้งธนาคารฯและกองทุนฯได้ใช้หลักการและนโยบายทางเศรษฐกิจของลัทธิเคนส์กับระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
No comments:
Post a Comment