Google

Friday, September 18, 2009

Trade Policy Organization : Economic Summit

องค์การนโยบายทางการค้า : การประชุมสุดยอดทางเศรษฐกิจ

การประชุมประจำปีของผู้นำชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจตะวันตกเจ็ดชาติ เพื่อพัฒนาแนวทางร่วมกันที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบัน การประชุมสุดยอดทางเศรษฐกิจไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่างสนธิสัญญาหรือข้อตกลงใดๆ เป็นแต่เพื่อหาทางผสมผสานกลมกลืนนโยบายของชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจทั้งเจ็ดนี้ แต่เดิมการประชุมสุดยอดนี้ประกอบด้วยผู้แทนของห้าชาติเท่านั้น แต่พอถึงช่วงทศวรรษปี 1980 อิตาลีและแคนาดาได้รับเชิญให้มาร่วมด้วย ตั้งแต่นั้นมาการประชุมสุดยอดนี้จึงประกอบเป็นกลุ่มเจ็ด หรือกรุ๊ปเซเว่น หรือจี-เจ็ด การประชุมสุดยอดทางเศรษฐกิจได้จัดขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1975 ดังนี้ คือ ที่รัมบูอิลเลต์ (1975), เปอร์โตริโก(1976), ลอนดอน(1977),บอนน์ (1978),โตเกียว(1979), เวนิช(1980), ออตตาวา(1981), แวส์ซายส์ (1982), วิลเลียมสเบิร์ก(1983), ลอนดอน(1984), บอนน์(1985), โตเกียว(1986), และเวนิช(1987)

ความสำคัญ การประชุมสุดยอดทางเศรษฐกิจปี 1987 ที่มีขึ้นที่เมืองเวนิชประเทศอิตาลีนั้นเป็นการประชุมที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ของกลุ่มจี-เจ็ดนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย(1) นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ (2) นายไบรอัน มัลโรนี นายกรัฐมนตรีแคนาดา (3) นายฟรังซัวร์ มิตเตอร์รองด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส (4) นายเฮลมุต โคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี (5) นายอมินโตรี ฟันฟานี รักษาการนายกรัฐมนตรีอิตาลี (6) นายยาสุฮิโร นากาโซเน นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และ (7) นายโรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปัญหาเศรษฐกิจสำคัญที่นำเข้าสู่วาระการประชุม ได้แก่ (1) การคุกคามของลัทธิปกป้องที่มีเพิ่มมากขึ้น (2) วิกฤติหนี้สินระหว่างประเทศ (3) เสถียรภาพของเงินตรา(โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินสกุลดอลลาร์) (4) ความจำเป็นในการกระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และ (5) อันตรายจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจระดับโลก ส่วนประเด็นทางการเมืองที่นำมาพิจารณา ได้แก่(1) ปัญหาการพัฒนาแนวทางร่วมกันต่อข้อเสนอของมิคาอิล กอร์บาชอฟ ที่จะให้เคลื่อนย้ายอาวุธปล่อยนิวเคลียร์พิสัยปานกลางออกไปจากยุโรป(2) ปัญหาการให้ความคุ้มครองการขนส่งน้ำมันในอ่าวเปอร์เซียในช่วงเกิดสงครามระหว่างอิหร่านกับอิรัก และ (3) การประสานนโยบายของชาติต่างๆร่วมกันแก้ปัญหาโรคเอดส์(โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง) การประชุมสุดยอดทางเศรษฐกิจปี ค.ศ. 1987 เป็นที่สนใจเป็นพิเศษของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน เพราะเขาได้ไปใช้ที่ประชุมเพื่อหาทางพัฒนานโยบายของฝ่ายตะวันตกที่จะนำมาใช้ช่วยเหลือสหรัฐฯแก้ไขการเสียเปรียบดุลการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯที่มีอยู่อย่างมหาศาลมีมูลค่าราว 1 หมื่นเจ็ดพันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 1987 เอกลักษณ์พิเศษอีกอย่างหนึ่งของการประชุมในแต่ละครั้ง ก็คือ จะมีการออกคำแถลงการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองอย่างน้อยหนึ่งฉบับเสมอ

No comments:

Post a Comment

Elephantstay,Thailand,

Elephantstay,Thailand,
Live,work and play with elephants