อุปกรณ์ของนโยบายทางการค้า : โควตา
ข้อจำกัดทางด้านปริมาณที่รัฐกำหนดขึ้นมาใช้ควบคุมการนำเข้าโภคภัณฑ์บางอย่าง ระบบโควตาที่มีการนำมาใช้ในประเทศต่างๆมีดังนี้ คือ (1) โควตาทางภาษีศุลกากร คือ โควตาแบบภาษีศุลกากรเพิ่มขึ้นเมื่อสินค้าเข้ามีรายการเพิ่มขึ้นจนครบตามโควตา (2) โควตาตามจัดสรร คือ โควตาที่จัดสรรไว้ให้แก่ประเทศหนึ่งประเทศหนึ่งเป็นการเฉพาะ (3) โควตาระดับโลก คือ โควตาที่จำกัดสินค้าเข้าโดยทั่วไป ซึ่งนำไปใช้กับทุกประเทศ (4) โควตากำหนดให้มีใบอนุญาตนำสินค้าเข้า คือ โควตาที่กำหนดไว้สำหรับบริษัทหนึ่งบริษัทใดเป็นการเฉพาะ (5) โควตาทวิภาคี คือ โควตาที่มีการตกลงในแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยกันเพื่อจำกัดการค้า และ (6) โควตาผสม คือ โควตาที่มีการจำกัดสินค้าเข้าโดยพิจารณาจากสัมพันธภาพระหว่างสิ่งนำเข้ากับการผลิตภายในประเทศ
ความสำคัญ โควตามีการนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ (1) เพื่อจำกัดการแข่งขันของสินค้าจากต่างประเทศในตลาดภายใน (2)เพื่อแก้ไขการเสียเปรียบดุลการชำระเงิน(3)เพื่อสนับสนุนระบบกำแพงภาษีศุลกากรมาใช้ปกป้องสินค้าภายในประเทศ (4) เพื่อมอบเครื่องมือให้รัฐบาลใช้ควบคุมการค้า และ (5) เพื่อทำสงครามทางเศรษฐกิจ โควตานี้เป็นอาวุธที่มีประสิทธิผลยิ่งกว่าภาษีศุลกากรเพื่อใช้ปกป้องสินค้าภายในหรือเพื่อทำสงครามทางเศรษฐกิจ เพราะว่าจะสามารถนำมาใช้จำกัดสินค้าเข้าได้อย่างสมบูรณ์ ในขณะที่ภาษีศุลกากรนั้นเป็นเพียงการเก็บภาษีซึ่งหากผู้บริโภคเต็มใจจ่ายเงินเพิ่มเพื่อซื้อสินค้านั้นๆก็ได้แต่ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นมาเท่านั้นเอง ไม่ได้สกัดกั้นสินค้าตัวนั้นแต่อย่างใด ประเทศส่วนใหญ่ในโลกจะใช้ระบบโควตานี้เพื่อเสริมนโยบายภาษีศุลกากร ทั้งนี้โดยใช้โควตาต่างๆเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมที่มีแรงแข่งขันในตลาดน้อยหรือเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมที่มีอิทธิพลทางการเมืองมากๆ ในประเทศที่เจริญก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมแล้วนั้น หมายถึงการใช้โควตาเพื่อคุ้มครองเกษตรกรและผู้ผลิตสินค้าประเภทโภคภัณฑ์ขั้นปฐม ตลอดจนผู้ผลิตรถยนต์ทั้งหลาย
No comments:
Post a Comment